ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
เนื้อที่
ตำบลโนนผึ้ง มีเนื้อที่ทั้งหมด 25.68 ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน 16,161 ไร่ ความหนาแน่น 319 คน/ตารางกิโลเมตร หรือ 1.96 คน/ไร่ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ที่อุดมสมบูรณ์ ปลูกไม้ผลเจริญเติบโตได้ดี
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคำน้ำแซบ และ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคูเมือง และ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
เขตการปกครองและประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโนนผึ้ง มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 11 หมู่บ้าน อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโนนผึ้ง ทั้งหมด มีประชากรทั้งสิ้น 8,212 คน แยกเป็นชาย 4,007 คน เป็นหญิง 4,205 คน ดังนี้
(*** ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ ณ 27 กุมภาพันธ์ 2558)
- หมู่ที่ 1 บ้านบกตก (ประชากร ชาย 317 หญิง 366)
- หมู่ที่ 2 บ้านจั่น (ประชากร ชาย 374 หญิง 351)
- หมู่ที่ 3 บ้านตาติด (ประชากร ชาย 417 หญิง 421)
- หมู่ที่ 4 บ้านผึ้งตก (ประชากร ชาย 146 หญิง 167)
- หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเกษม (ประชากร ชาย 245 หญิง 249)
- หมู่ที่ 6 บ้านบกออก (ประชากร ชาย 337 หญิง 383)
- หมู่ที่ 7 บ้านผึ้งออก (ประชากร ชาย 172 หญิง 186)
- หมู่ที่ 8 บ้านกลาง (ประชากร ชาย 448 หญิง 447)
- หมู่ที่ 9 บ้านเหรียญทอง (ประชากร ชาย 726 หญิง 796)
- หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง (ประชากร ชาย 451 หญิง 445)
- หมู่ที่ 11 บ้านจั่น (ประชากร ชาย 374 หญิง 390)
ลักษณะภูมิเทศ
ตำบลโนนผึ้ง ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Korat Basin) โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงๆ ต่ำๆ จัดเป็นที่ราบลาดเอียง โดยมีลำห้วยพับ เป็นแหล่งน้ำสำคัญ สภาพดินอยู่ในกลุ่มชุดดินวาริน กลุ่มชุดดินที่ 35 การจำแนกดิน Fine-loamy,siliceous, isohyperthermic Typic Kandiustults การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลวด มีความลาดชัน 2-8 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำดี การไหล่บ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ปลูกพืชไร่ การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bt ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนเทาดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายสีแดงปนเหลืองหรือสีเหลืองปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่า PH 5.0-6.5 ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่า PH 4.5-6.5 ในดินล่าง ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินยโสธร ข้อกำจัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบรูณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำ
ลักษณะภูมิอากาศ
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม- กันยายน และมักปรากฏเสมอว่ามีฝนจะทิ้งช่วงในเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เป็นเหมือนกันในแต่ละปี และในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุกทุกปี อาจจะมีภาวะน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ริมฝั่งลำห้วย หรือที่เป็นแอ่งกระทะ ปริมาณโดยเฉลี่ยน้ำฝน สูงสุด คือเดือนกันยายน ประมาณ 231 มิลลิเมตร ปริมาณที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำสุด คือเดือนมกราคม 0.13 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว จะได้รับอิทธิของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่ม ลดต่ำลงตั้งแต่เดือน ตุลาคม และจะสิ้นประมาณปลายเดือน มกราคม ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 94.70 เปอร์เซ็นในเดือน กันยายน และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด 39.90 เปอร์เซ็น ในเดือน มกราคม โดยเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 67.3 เปอร์เช็น
- ฤดูแล้ง โดยทั่วไปส่วนใหญ่อากาศจะเริ่มอบอ้าวในเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งอาจ จะมีฝนตกบ้างในปลายเดือน เมษายน หรือเดือนอื่น ๆ ที่ได้รับลมมรสุมแล้วแต่ปี
แหล่งน้ำ
- ลำน้ำ,ลำคลองและลำห้วย จำนวน 10 สาย
- บึง หนอง และอื่นๆ จำนวน 2 แห่ง
- ฝาย 2 แห่ง
- บ่อบาดาล 420 แห่ง
- บ่อโยก 20 แห่ง
- ระบบประปาหมู่บ้าน 11 แห่ง
ผังเมือง
โดยทั่วไปแล้วการตั้งบ้านเรือนของประชากรในตำบลโนนผึ้ง จะตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหย่อมบ้านในกลุ่มเครือญาติเดียวกัน บ้านเรือนจะอยู่ใกล้เคียงกัน แต่ต่อมามีถนนหนทางสายหลักที่สำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจตัดผ่านพื้นที่ การคมนาคมสะดวกสบายขึ้น ได้มีการโยกย้ายบ้านเรือนมาตั้งติดกับถนนภายในหมู่บ้านและถนนสายหลัก ที่ตัดผ่านมาในพื้นที่ จึงทำให้บางแห่งกลายเป็นชุมชนกึ่งชุมชนเมือง หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการต่าง ๆ ตามสภาพเศรษฐกิจ สำหรับการใช้ที่ดินของประชากรตำบลโนนผึ้งนั้น แบ่งได้ดังนี้
(*** ข้อมูลจากแผนชุมชนของหมู่บ้านภายในตำบลโนนผึ้ง ประจำปี 2556)
- หมู่ที่ 1 บ้านบกตก (พื้นที่การเกษตร 2,017 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 35 ไร่ ป่าสาธารณะ 75 ไร่)
- หมู่ที่ 2 บ้านจั่น (พื้นที่การเกษตร 1,100 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 1,215 ไร่ ป่าสาธารณะ 0 ไร่)
- หมู่ที่ 3 บ้านตาติด (พื้นที่การเกษตร 1,249 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 30 ไร่ ป่าสาธารณะ 60 ไร่)
- หมู่ที่ 4 บ้านผึ้งตก (พื้นที่การเกษตร 1,313 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 100 ไร่ ป่าสาธารณะ 60 ไร่)
- หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเกษม (พื้นที่การเกษตร 1,940 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 250 ไร่ ป่าสาธารณะ 16.2 ไร่)
- หมู่ที่ 6 บ้านบกออก (พื้นที่การเกษตร 1,207 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 465 ไร่ ป่าสาธารณะ 25.2 ไร่)
- หมู่ที่ 7 บ้านผึ้งออก (พื้นที่การเกษตร 1,126 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 130 ไร่ ป่าสาธารณะ 23 ไร่)
- หมู่ที่ 8 บ้านกลาง (พื้นที่การเกษตร 1,014 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 420 ไร่ ป่าสาธารณะ 73 ไร่)
- หมู่ที่ 9 บ้านเหรียญทอง (พื้นที่การเกษตร 560 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 1,130 ไร่ ป่าสาธารณะ 0 ไร่)
- หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง (พื้นที่การเกษตร 1,100 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 465 ไร่ ป่าสาธารณะ 17 ไร่)
- หมู่ที่ 11 บ้านจั่น (พื้นที่การเกษตร 1,642 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ไร่ 366 ป่าสาธารณะ 0 ไร่)
การศึกษา
ตำบลโนนผึ้ง มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 1 แห่ง และมีสถานศึกษาในระบบโรงเรียน ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(*** ข้อมูลจากสถานศึกษา ณ เดือน มิถุนายน ประจำปี 2558)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านผึ้งตก หมู่ที่ 4
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านกลาง หมู่ที่ 8
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านเหรียญทอง หมู่ที่ 9
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านจั่น หมู่ที่ 11
- โรงเรียนบ้านบก (มั่นสามัคคีพิทยาคาร) หมู่ที่ 6
- โรงเรียนบ้านจั่น หมู่ที่ 2
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัดสมบรูณาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านบกตก
- วัดจันทาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านจั่น
- วัดสุเนตตาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านตาติด
- สำนักสงฆ์บ้านตาติด (ป่าช้า) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านตาติด
- วัดบ้านผึ้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านผึ้งตก
- วัดทุ่งเกษม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเกษม
- สำนักแม่ชีบ้านบก (ห้วยพับ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านบกออก
- วัดบ้านกลาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 บ้านกลาง
- สำนักสงฆ์บ้านเหรียญทอง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 บ้านเหรียญทอง
- วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง
- วัดบ้านจั่น (เก่า) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 บ้านจั่น
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง ได้จัดทำข้อมูลผังโครงสร้างหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ แก่ผู้สนใจ จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
อำนาจหน้าที่
การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้งจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้งยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537( แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ มาตรา 67 (1)
- ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร มาตรา 68 (1)
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 68 (2)
- ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ มาตรา 68 (3)
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16 (4)
- การสาธารณูปการ มาตรา 16 (5)
ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ มาตรา 67 (6)
- ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา 67 (3)
- ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ มาตรา 68 (4)
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส มาตรา 16 (10)
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย มาตรา 16 (2)
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16 (19)
ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 67 (4)
- การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 68 (8)
- การผังเมือง มาตรา 68 (13)
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาตรา 16 (17)
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16 (5)
ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว มาตรา 68 (6)
- ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ มาตรา 68 (5)
- บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร มาตรา 68 (7)
- ให้มีตลาด มาตรา 68 (10)
- การท่องเที่ยว มาตรา 68 (12)
- กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ มาตรา 68 (11)
- การส่งเสริม การฝึกและการประกอบอาชีพ มาตรา 16 (6)
ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 67 (7)
- รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 67 (2)
- การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ มาตรา 17 (12)
ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 67 (8)
- ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาตรา 67 (5)
- การจัดการศึกษา มาตรา 16 (9)
- การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มาตรา 17 (18)
ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรืบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 67 (9)
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน มาตรา 16 (16)
- การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 17 (3)
- การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17 (16)
ประวัติความเป็นมา
ประมาณปี พ.ศ.2394 ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง นามว่า “หลวงปู่ดี พันธุโร” ท่านได้เดินปลีกวิเวกเพื่อเจริญกัมมัฎฐานมาถึงบริเวณบ้านผึ้งในปัจจุบัน ซึ่งมีทำเลที่ตั้งอันเหมาะสม พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสมกับการทำนา บางส่วนเป็นที่ราบสูงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ และภูมิลำเนาเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นยังมีลำห้วยที่มีน้ำตลอดปี มีปลาชุกชุมอีกด้วย.
เมื่อท่านเดินทางกลับไปยังวัดของท่าน ท่านก็ได้เล่าให้ชาวบ้านญาติโยมฟังและพามาดูสถานที่ ซึ่งชาวบ้านต่างก็ชอบใจและพากันอพยพครอบครัวมาสร้างถิ่นฐานบริเวณบ้านผึ้ง หมู่ 4 ทุกวันนี้บริเวณที่หลวงปู่ดีพาชาวบ้านมาสร้างหลักปักฐานนั้น เดิมเป็นต้นยางใหญ่และมีผึ้งชุกชุมมาก ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่ดีจึงพาชาวบ้านสร้างหมู่บ้านขึ้นมา และให้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านผึ้ง” ขณะนั้นเขตการปกครองบ้านผึ้งยังอยู่ในเขตตำบลโนนโหนน ต่อมาแยกออกเป็น ตำบลโนนผึ้ง เมื่อ พ.ศ. 2530 โดยนำคำว่า “โนน” จากตำบลเดิม มาผนวกกับคำว่า “ผึ้ง” ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้าน รวมเป็น “ตำบลโนนผึ้ง” ปัจจุบันตำบลโนนผึ้งมีเขตการปกครอง รวมจำนวน 11 หมู่บ้าน
https://nonphueng.go.th/purechase/itemlist/category/20-about-us#sigProGalleria5420db9cf9
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง มีนายกองการบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บริหารสูงสุด โดยมี ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พอสังเขปดังนี้
วิสัยทัศน์
“ชุมชนน่าอยู่ แหล่งท่องเที่ยวโดดเด่น เกษตรกรรมยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
- พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
- ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
- สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
- พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
- มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
- จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
- ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
- จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
จุดมุ่งหมายและภารกิจ
- พัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้สมบูรณ์ตามความเหมาะสมของชุมชน
- พัฒนาทางด้านการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด
- พัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชนให้ทัดเทียมมาตรฐานที่ควรจะเป็น
- พัฒนาทางด้านสาธารณสุข เน้นทางด้านการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพและบริการผู้เจ็บป่วย
- พัฒนาทางด้านสังคม ให้เกิดความสงบ ปลอดภัย รวมถึงพัฒนาสังคมให้เ็ป็นสังคมแห่งศีลธรรม จริยธรรมและลดปัญหายาเสพติด
- พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่เศรษฐกิจชุมชน
- พัฒนางานของเทศบาล ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ตามคำขวัญของเทศบาลว่า “บริการประชาชนคืองานของเรา”