Print this page

สภาพทั่วไป

เนื้อที่

      ตำบลโนนผึ้ง มีเนื้อที่ทั้งหมด 25.68 ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน 16,161 ไร่ ความหนาแน่น 319 คน/ตารางกิโลเมตร หรือ 1.96 คน/ไร่ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ที่อุดมสมบูรณ์ ปลูกไม้ผลเจริญเติบโตได้ดี

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคำน้ำแซบ และ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคูเมือง และ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหัดอุบลราชธานี

เขตการปกครองและประชากร

      องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโนนผึ้ง มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 11 หมู่บ้าน อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโนนผึ้ง ทั้งหมด มีประชากรทั้งสิ้น 8,212 คน แยกเป็นชาย 4,007 คน เป็นหญิง 4,205 คน ดังนี้

(*** ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ ณ 27 กุมภาพันธ์ 2558)

  • หมู่ที่ 1 บ้านบกตก (ประชากร ชาย 317 หญิง 366)
  • หมู่ที่ 2 บ้านจั่น (ประชากร ชาย 374 หญิง 351)
  • หมู่ที่ 3 บ้านตาติด (ประชากร ชาย 417 หญิง 421)
  • หมู่ที่ 4 บ้านผึ้งตก (ประชากร ชาย 146 หญิง 167)
  • หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเกษม (ประชากร ชาย 245 หญิง 249)
  • หมู่ที่ 6 บ้านบกออก (ประชากร ชาย 337 หญิง 383)
  • หมู่ที่ 7 บ้านผึ้งออก (ประชากร ชาย 172 หญิง 186)
  • หมู่ที่ 8 บ้านกลาง (ประชากร ชาย 448 หญิง 447)
  • หมู่ที่ 9 บ้านเหรียญทอง (ประชากร ชาย 726 หญิง 796)
  • หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง (ประชากร ชาย 451 หญิง 445)
  • หมู่ที่ 11 บ้านจั่น (ประชากร ชาย 374 หญิง 390)

ลักษณะภูมิเทศ

      ตำบลโนนผึ้ง ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Korat Basin) โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงๆ ต่ำๆ จัดเป็นที่ราบลาดเอียง โดยมีลำห้วยพับ เป็นแหล่งน้ำสำคัญ สภาพดินอยู่ในกลุ่มชุดดินวาริน กลุ่มชุดดินที่ 35 การจำแนกดิน Fine-loamy,siliceous, isohyperthermic Typic Kandiustults การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลวด มีความลาดชัน 2-8 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ำดี การไหล่บ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ปลูกพืชไร่ การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bt ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนเทาดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายสีแดงปนเหลืองหรือสีเหลืองปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่า PH 5.0-6.5 ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่า PH 4.5-6.5 ในดินล่าง ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินยโสธร ข้อกำจัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบรูณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำ

ลักษณะภูมิอากาศ

  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม- กันยายน และมักปรากฏเสมอว่ามีฝนจะทิ้งช่วงในเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เป็นเหมือนกันในแต่ละปี และในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุกทุกปี อาจจะมีภาวะน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ริมฝั่งลำห้วย หรือที่เป็นแอ่งกระทะ ปริมาณโดยเฉลี่ยน้ำฝน สูงสุด คือเดือนกันยายน ประมาณ 231 มิลลิเมตร ปริมาณที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำสุด คือเดือนมกราคม 0.13 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว จะได้รับอิทธิของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่ม ลดต่ำลงตั้งแต่เดือน ตุลาคม และจะสิ้นประมาณปลายเดือน มกราคม ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 94.70 เปอร์เซ็นในเดือน กันยายน และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด 39.90 เปอร์เซ็น ในเดือน มกราคม โดยเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 67.3 เปอร์เช็น
  • ฤดูแล้ง โดยทั่วไปส่วนใหญ่อากาศจะเริ่มอบอ้าวในเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งอาจ จะมีฝนตกบ้างในปลายเดือน เมษายน หรือเดือนอื่น ๆ ที่ได้รับลมมรสุมแล้วแต่ปี

แหล่งน้ำ

  1. ลำน้ำ,ลำคลองและลำห้วย จำนวน 10 สาย
  2. บึง หนอง และอื่นๆ จำนวน 2 แห่ง
  3. ฝาย 2 แห่ง
  4. บ่อบาดาล 420 แห่ง
  5. บ่อโยก 20 แห่ง
  6. ระบบประปาหมู่บ้าน 11 แห่ง

ผังเมือง

      โดยทั่วไปแล้วการตั้งบ้านเรือนของประชากรในตำบลโนนผึ้ง จะตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหย่อมบ้านในกลุ่มเครือญาติเดียวกัน บ้านเรือนจะอยู่ใกล้เคียงกัน แต่ต่อมามีถนนหนทางสายหลักที่สำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจตัดผ่านพื้นที่ การคมนาคมสะดวกสบายขึ้น ได้มีการโยกย้ายบ้านเรือนมาตั้งติดกับถนนภายในหมู่บ้านและถนนสายหลัก ที่ตัดผ่านมาในพื้นที่ จึงทำให้บางแห่งกลายเป็นชุมชนกึ่งชุมชนเมือง หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการต่าง ๆ ตามสภาพเศรษฐกิจ สำหรับการใช้ที่ดินของประชากรตำบลโนนผึ้งนั้น แบ่งได้ดังนี้

(*** ข้อมูลจากแผนชุมชนของหมู่บ้านภายในตำบลโนนผึ้ง ประจำปี 2556)

  1. หมู่ที่ 1 บ้านบกตก (พื้นที่การเกษตร 2,017 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 35 ไร่ ป่าสาธารณะ 75 ไร่)
  2. หมู่ที่ 2 บ้านจั่น (พื้นที่การเกษตร 1,100 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 1,215 ไร่ ป่าสาธารณะ 0 ไร่)
  3. หมู่ที่ 3 บ้านตาติด (พื้นที่การเกษตร 1,249 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 30 ไร่ ป่าสาธารณะ 60 ไร่)
  4. หมู่ที่ 4 บ้านผึ้งตก (พื้นที่การเกษตร 1,313 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 100 ไร่ ป่าสาธารณะ 60 ไร่)
  5. หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเกษม (พื้นที่การเกษตร 1,940 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 250 ไร่ ป่าสาธารณะ 16.2 ไร่)
  6. หมู่ที่ 6 บ้านบกออก (พื้นที่การเกษตร 1,207 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 465 ไร่ ป่าสาธารณะ 25.2 ไร่)
  7. หมู่ที่ 7 บ้านผึ้งออก (พื้นที่การเกษตร 1,126 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 130 ไร่ ป่าสาธารณะ 23 ไร่)
  8. หมู่ที่ 8 บ้านกลาง (พื้นที่การเกษตร 1,014 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 420 ไร่ ป่าสาธารณะ 73 ไร่)
  9. หมู่ที่ 9 บ้านเหรียญทอง (พื้นที่การเกษตร 560 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 1,130 ไร่ ป่าสาธารณะ 0 ไร่)
  10. หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง (พื้นที่การเกษตร 1,100 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 465 ไร่ ป่าสาธารณะ 17 ไร่)
  11. หมู่ที่ 11 บ้านจั่น (พื้นที่การเกษตร 1,642 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ไร่ 366 ป่าสาธารณะ 0 ไร่)

การศึกษา

      ตำบลโนนผึ้ง มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 1 แห่ง และมีสถานศึกษาในระบบโรงเรียน ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

(*** ข้อมูลจากสถานศึกษา ณ เดือน มิถุนายน ประจำปี 2558)

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านผึ้งตก หมู่ที่ 4
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านกลาง หมู่ที่ 8
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านเหรียญทอง หมู่ที่ 9
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านจั่น หมู่ที่ 11
  5. โรงเรียนบ้านบก (มั่นสามัคคีพิทยาคาร) หมู่ที่ 6
  6. โรงเรียนบ้านจั่น หมู่ที่ 2

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

  1. วัดสมบรูณาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านบกตก
  2. วัดจันทาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านจั่น
  3. วัดสุเนตตาราม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านตาติด
  4. สำนักสงฆ์บ้านตาติด (ป่าช้า) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านตาติด
  5. วัดบ้านผึ้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านผึ้งตก
  6. วัดทุ่งเกษม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเกษม
  7. สำนักแม่ชีบ้านบก (ห้วยพับ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านบกออก
  8. วัดบ้านกลาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 บ้านกลาง
  9. สำนักสงฆ์บ้านเหรียญทอง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 บ้านเหรียญทอง
  10. วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านพงสว่าง
  11. วัดบ้านจั่น (เก่า) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 บ้านจั่น

Media